รีวิว หลักสูตรนักบิน สาขาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ : U-Review
แม้อาชีพนักบินจะเป็นที่ใฝ่ฝันของใครหลายคน ด้วยภาพลักษณ์ทรงเสน่ห์ และค่าตอบแทนสูงลิ่ว แต่ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีมานี้เรากลับได้ยินข่าวนักบินขาดแคลนมาตลอด บ้างว่าในอีกสิบปีเราจะขาดแคลนนักบินถึงหลายแสนตำแหน่ง นั้นเพราะเหตุผลเดียวง่ายๆ ที่ว่าแค่การเข้าเรียนการบินก็ไม่ง่ายแล้ว คนที่จะเข้าเรียนเพื่อเป็นนักบินไม่ใช่แค่จ่ายเงิน แล้วเข้าเรียนได้เลย เช่นที่หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ในแต่ละปีจะมีผู้สมัครมากกว่า 1000 คน แต่ผ่านการคัดเลือกเพียง 25 – 75 คนเท่านั้น ยังไม่ต้องพูดถึงการเรียนที่เข้มงวด และสารพัดกฎเกณฑ์ที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความปรอดภัยในการบินที่ต้องปฏิบัติตามให้ได้ตั้งแต่เป็นนักเรียนการบิน
ขั้นตอนของการรับนักศึกษา
1.สอบตรง วัดความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์
การคัดเลือกแบบรับตรง จะมีการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบกลางของมหาลัย ได้แก่ ความถนัดด้านวิศวกรรม (pat 3) , ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ (english) , ข้อสอบเวชศาสตร์การบิน ส่วนใหญ่น้องๆ จะมีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่แล้ว เพราะเรียนสายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขั้นตอนนี้จึงไม่น่าเป็นห่วงเพราะเมื่อการสอบตรงทั่วไป
2.สอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ
โดยสมาคมนักบินไทยเข้ามาช่วยคัดเลือก แต่น้องๆ ไม่ต้องกังวลไปทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีค่ายเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับความถนัดทางวิชาชีพ
“พอเรามีสอบวัดความรู้ทางความถนัดทางวิชาชีพ แค่พูดถึงเรื่องของ “ความถนัด”
3.ทดสอบด้านจิตวิทยา
ในขั้นตอนนี้ก็มีคุณหมอจิตวิทยา ทางด้านวิทยาศาสตร์การบินโดยตรงเพื่อมาทดสอบสภาพจิตใจ ว่าน้องๆ อยู่ในสภาวะปกติ สามารถประกอบวิชาชีพนี้ได้หรือไม่
4.ตรวจร่างกาย
กำหนดส่วนสูงของน้องๆ ที่จะสมัครเข้าศึกษาไว้ที่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป และจะต้องไม่ตาบอดสี
ในการสอบสัมภาษณ์จะมีด้วยกัน 3 ด่าน ได้แก่ สัมภาษณ์วิศวะ โดยอาจารย์ในมหาลัย , สัมภาษณ์เวชศาสตร์การบิน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การบิน จาก รพ.ภูมิพล , สัมภาษณ์นักบินพาณิชย์ โดยกัปตันจากสมาคมนักบินไทย
การเรียน
ปีที่ 1 เป็นการเรียนการสอนทั่วไป เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่น้องๆ ได้เรียนมาเพื่อเอามาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ปีที่ 2 ลงลึกเรื่องความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมเครื่องกล ปี 3 จะเรียนเรื่องวิศวกรรมการบิน ปีนี้น้องๆ จะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมการบินเต็มๆ เน้นให้น้องๆ เข้าใจเรื่องกระบวนการทำงาน โครงสร้าง และองค์ประกอบของเครื่องบิน สุดท้ายปี 4 น้องๆ จะมีความรู้พื้นฐานเพียงพอแล้วสำหรับการเข้าสู่การเรียนบินจริงอยากเต็มรูปแบบ น้องๆ จะได้ไปเรียนบินกับสถาบันการบินแอร์เอเซีย ณ ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งเป็นวิทยาเขตของ สจล. แน่นอนว่าพอน้องๆ เรียนจบหลักสูตรก็จะเก็บชั่วโมงบินครบ สามารถไปสอบ License นักบิน (ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์) ได้เลย
ความพิเศษ
ความพิเศษของการเรียนการบินที่นี่คือ เป็นแห่งเดียวที่รวมเอาหลักสูตรการบิน และวิศวกรรมการบินเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุผลด้านความสามารถเฉพาะที่จะทำให้นักบินที่จบออกไปมีทักษะที่มากกว่าที่อื่นๆ ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกลศาสตร์การบิน การคำนวณทิศทางลม และความรู้เรื่องเครื่องยนต์ อีกทั้งเมื่อจบวิศวกรรมการบินสามารถไปประกอบอาชีพช่างซ่อมบำรุงได้ เพราะน้องๆ มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกลต่างๆ อยู่แล้ว
“อาชีพนักบินจะต้องแปลเครื่องวัดออกมาเป็นท่าทาง การที่เราเลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์จะทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ไวกว่าว่าถ้าท่าทางการบินเป็นแบบไหน เมื่อเจอพายุจะวิเคราะห์ทิศทางใดได้ไวกว่า”
พลอากาศเอก อนิรุท กิตติรัต
ขั้นตอนของการรับนักศึกษา
1.สอบตรง วัดความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์
การคัดเลือกแบบรับตรง จะมีการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบกลางของมหาลัย ได้แก่ ความถนัดด้านวิศวกรรม (pat 3) , ความถนัดด้านภาษาอังกฤษ (english) , ข้อสอบเวชศาสตร์การบิน ส่วนใหญ่น้องๆ จะมีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่แล้ว เพราะเรียนสายวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ขั้นตอนนี้จึงไม่น่าเป็นห่วงเพราะเมื่อการสอบตรงทั่วไป
2.สอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ
โดยสมาคมนักบินไทยเข้ามาช่วยคัดเลือก แต่น้องๆ ไม่ต้องกังวลไปทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีค่ายเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับความถนัดทางวิชาชีพ
“พอเรามีสอบวัดความรู้ทางความถนัดทางวิชาชีพ แค่พูดถึงเรื่องของ “ความถนัด”
แสดงว่าแค่น้องๆ มีความรู้ทางด้านวิชาการนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ”
ดร.สมศักดิ์ อยู่เย็น
ดร.สมศักดิ์ อยู่เย็น
3.ทดสอบด้านจิตวิทยา
ในขั้นตอนนี้ก็มีคุณหมอจิตวิทยา ทางด้านวิทยาศาสตร์การบินโดยตรงเพื่อมาทดสอบสภาพจิตใจ ว่าน้องๆ อยู่ในสภาวะปกติ สามารถประกอบวิชาชีพนี้ได้หรือไม่
4.ตรวจร่างกาย
กำหนดส่วนสูงของน้องๆ ที่จะสมัครเข้าศึกษาไว้ที่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป และจะต้องไม่ตาบอดสี
ในการสอบสัมภาษณ์จะมีด้วยกัน 3 ด่าน ได้แก่ สัมภาษณ์วิศวะ โดยอาจารย์ในมหาลัย , สัมภาษณ์เวชศาสตร์การบิน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การบิน จาก รพ.ภูมิพล , สัมภาษณ์นักบินพาณิชย์ โดยกัปตันจากสมาคมนักบินไทย
การเรียน
ปีที่ 1 เป็นการเรียนการสอนทั่วไป เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่น้องๆ ได้เรียนมาเพื่อเอามาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ ปีที่ 2 ลงลึกเรื่องความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมเครื่องกล ปี 3 จะเรียนเรื่องวิศวกรรมการบิน ปีนี้น้องๆ จะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมการบินเต็มๆ เน้นให้น้องๆ เข้าใจเรื่องกระบวนการทำงาน โครงสร้าง และองค์ประกอบของเครื่องบิน สุดท้ายปี 4 น้องๆ จะมีความรู้พื้นฐานเพียงพอแล้วสำหรับการเข้าสู่การเรียนบินจริงอยากเต็มรูปแบบ น้องๆ จะได้ไปเรียนบินกับสถาบันการบินแอร์เอเซีย ณ ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งเป็นวิทยาเขตของ สจล. แน่นอนว่าพอน้องๆ เรียนจบหลักสูตรก็จะเก็บชั่วโมงบินครบ สามารถไปสอบ License นักบิน (ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์) ได้เลย
ความพิเศษ
ความพิเศษของการเรียนการบินที่นี่คือ เป็นแห่งเดียวที่รวมเอาหลักสูตรการบิน และวิศวกรรมการบินเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุผลด้านความสามารถเฉพาะที่จะทำให้นักบินที่จบออกไปมีทักษะที่มากกว่าที่อื่นๆ ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกลศาสตร์การบิน การคำนวณทิศทางลม และความรู้เรื่องเครื่องยนต์ อีกทั้งเมื่อจบวิศวกรรมการบินสามารถไปประกอบอาชีพช่างซ่อมบำรุงได้ เพราะน้องๆ มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกลต่างๆ อยู่แล้ว
“อาชีพนักบินจะต้องแปลเครื่องวัดออกมาเป็นท่าทาง การที่เราเลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์จะทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ไวกว่าว่าถ้าท่าทางการบินเป็นแบบไหน เมื่อเจอพายุจะวิเคราะห์ทิศทางใดได้ไวกว่า”
พลอากาศเอก อนิรุท กิตติรัต