U-Review

"นิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ ชื่อนี้การันตีการได้งานทำทั้งภาครัฐและเอกชน" รีวิวคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ : U-Review

     คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นหนึ่งในสองมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ได้อนุญาตให้คณะนิติศาสตร์ ใช้ชื่อว่า "คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์" ส่วนอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ทางนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หลักสูตรทุกหลักสูตรทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และเพื่อสนองตอบต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นคนที่จบจากนิติศาสตร์ไปจึงสามารถทำได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน



UploadImage



      ในส่วนการทำงานในภาครัฐแน่นอนหลายๆ คนคงมีความฝันสูงสุดที่อยากจะเป็นเป็นผู้พิพากษา รองลงมาคืออัยการ  นอกจากนี้ทั้งสองอาชีพดังกล่าวแล้วก็ยังสามารถเป็นนิติกร (คือพนักงานหรือข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายในส่วนงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ มักจะทำหน้าที่ประสานงานด้านกฎหมาย) สำหรับภาคเอกชนส่วนใหญ่ความฝันสูงสุดคือการเป็น Law firm (ที่ปรึกษากฎหมาย หรือ สำนักงานกฎหมายที่ให้คำปรึกษา หรือ ให้บริการลูกค้า/ลูกความที่ส่วนมากจะเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ) นอกเหนือจากนี้ก็ไปเป็นทนายความอิสระได้เช่นกัน



      สำหรับเรื่องรายได้ ถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศทนายความบ้านเรา ค่าตอบแทนไม่ได้สูงมาก แต่ในสายกฎหมายกลุ่มอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูงสุดคือผู้พิพากษา(ภาครัฐ) อัยการ ส่วนภาคเอกชนคงหนีไม่พ้นการทำงาน Law Firm ซึ่งจะได้ค่าตอบแทนที่สูง เพราะงานค่อนข้างหนัก ต้อมมีความสามารถด้านภาษาดี เพราะสัญญา และเอกสารเป็นภาษาอังกฤษหมด



UploadImage



      ในส่วนกระบวนการเรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเน้นงานกลุ่ม และภาคปฏิบัติมากขึ้น แต่บรรยายน้อยลง อย่างการให้นักศึกษาเขียนคำฟ้อง หรือให้นักศึกษาเตรียมให้คำพยาน (ห้องศาลจำลอง) โดยรูปแบบการเรียนของปีหนึ่ง เรียนวิชาพื้นฐานจากมัธยมปลายและเรียนกฎหมายใหม่ เทอมละ 1 ตัว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ปีสอง พอขึ้นปีสองคราวนี้เน้นเป็นนักกฎหมายเต็มตัวจะได้เรียนกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายมหาชน จนพอปีสามจะเริ่มยากขึ้น จะได้เจอกฎหมายวิธีพิจารณาความ อย่างเช่นถ้าจะฟ้องคดีแพ่ง ต้องฟ้องคดีไหน จะยื่นบัญชีระบุพยานจะยื่นอย่างไรยื่นเมื่อไหร่ จะขอคัดค้านจะต้องทำอย่างไร พอปีสี่ จะเรียนวิชาแนวนามอธรรม นิติปรัชญา หลักวิชาชีพของนักกฎหมาย เน้นจริยธรรมและคุณธรรมของนักกฎหมาย
 


UploadImage



      คุณลักษณะที่สามารถมาเรียนทางด้านกฎหมายโดยพื้นฐานทั่วไปแน่นอนต้องเป็นคนรักความเป็นธรรมต้องเป็นคนมีเหตุผล การเรียนกฎหมายคือการเรียนวิธีให้เหตุผล และต้องชอบอ่านหนังสือ ถึงแม้ที่นี่จะไม่มีการเช็คชื่อ แต่ถ้าเข้ามาเรียนที่นี่ได้แล้วเราก็ควรจะทำหน้าที่ของนักศึกษาที่ดี ไม่ควรโดดเรียนบ่อยต้องขยันเข้ามาเรียนทุกครั้ง เชื่อว่าทุกๆ วิชามันก็มีความยากง่ายของมัน เรื่องกฎหมายก็เช่นกันอาจมีส่วนที่ยากบ้าง แต่ก็ไม่ยากเกินความตั้งใจของน้องๆ แน่นอน


 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

Accelerated MBA Program (AMBA) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Accelerated MBA Program (AMBA) เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ...

CEO MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เพื่อดึงศักยภาพนักบริหารในแต่ละบุคคลออกมา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ...

MSc in FIRM (Financial Investment and Risk Management) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

MSc in FIRM (Financial Investment and Risk Management) ...