“วิศวกรดนตรี อาชีพในเสียงดนตรีที่ไม่มีหลับใหล” รีวิวสาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม : U-Review
วิศวกรรมดนตรี เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แถมยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคม ปัจุบันอุตสาหกรรมดนตรี สื่อประสม และการบันเทิงต่างๆ เป็นอุตสาหกรรมที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และสามารถประยุกต์ร่วมกับธุรกิจได้ทุกแขนง รวมถึงความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาอุสหากรรมดนตรีให้ได้พัฒนาต่อยอดไปสู่ธุรกิจอีกมากมาย และหลากหลายยิ่งขึ้น หลักสูตรนี้ได้ผลิตวิศวกรด้านดนตรีคุณภาพที่สามารถยกระดับธุรกิจสู่มาตรฐานสากล
วิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม เป็นหลักสูตรหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นหลักสูตรแห่งแรกแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนวิศวกรรมดนตรี น้องๆ ที่สนใจหลักสูตรนี้ต้องเรียนอะไรบ้าง มาดูกันเลย
ชั้นปีแรกเริ่มจากพื้นฐานทางวิศวกรรม เช่น คณิศศาสตร์ ฟิสิกส์ของเสียง ซอร์ฟแวร์เสียง ทฤษฎีดนตรี เป็นต้น เมื่อมีพื้นฐานแล้วชั้นปีที่ 2 จะเริ่มเรียนบทเรียนที่สูงขึ้นและเป็นภาคปฏิบัติมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า การออกแบบวงจรดิจิตอลและลอจิก คอมพิวเตอร์ดนตรีและเทคโนโลยี เป็นต้น ชั้นปีที่ 3 เป็นวิชาขั้นสูง เช่น วิศวกรรมอคูสติค การออกแบบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เทคนิคการผสมเสียง การผลิตงานดนตรีและเสียง เป็นต้น และชั้นปีสุดท้าย น้องๆ จะได้ทำสหกิจศึกษาเพื่อเป็นตัวจบการศึกษา นอกจากนี้น้องๆ จะได้ฝึกงานในบริษัทชั้นนำต่างๆ ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนช่วงชั้นปีที่ 3 ด้วย
หลักสูตรนี้ได้ลงทุนจัดหาเครื่องมือทันสมัยที่พร้อมให้ประสบการณ์ความรู้กับน้องๆ ทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องมือเหล่านี้จะทำให้น้องๆ ทำงานเป็น และมีองค์ความรู้ภาพรวมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานแขนงต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ห้องคีย์บอร์ดสกิล สำหรับเรียนเปียโน ห้องสตูดิโอต่างๆ เครื่องมือสำหรับผลิตดนตรี และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ทั้งแบบสากล และแบบอิเล็กทรอนิกส์
ด้านโอกาสการทำงานของวิศวกรดนตรีและสื่อประสมนั้นมีขอบเขตงานที่กว้างขวาง หลักๆ จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิง ดนตรี ภาพยนตร์ หรือธุรกิจอื่นๆ เช่น Audio engineering Sound engineering Studio recording Live&Sound Design sound system Acoustic engineering เป็นต้น
อาจบอกได้ว่าทุกงานอีเวนท์ งานดนตรี ภาพยนตร์ อุตสาหกรรมบันเทิง ต่างต้องพึ่งความสามารถของวิศวกรดนตรี หรือแม้กระทั้งธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง จำเป็นต้องคำนึงถึงวัสดุ และทิศทางของเสียง การลดเสียงรบกวน หรือการสร้างห้องที่ทำให้เกิดเสียงที่สมดุล เป็นต้น เห็นอย่างนี้แล้วคงช่วยคลายข้อสงสัยของน้องๆ ได้แล้ว หากอยากเป็นวิศวกรด้านดนตรีแล้วละก็ อย่าลืม สาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระคุณทหารลาดกระบัง