วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องๆ คนไหนมีความชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไก มีความสนใจหลงใหลเกี่ยวกับเครื่องบินเป็นพิเศษ คงรู้จักและเคยได้ยินเกี่ยวกับ “วิศวกรรมอากาศยาน” กันมาบ้างนะคะ ซึ่งวิศวกรรมอากาศยาน เป็นสายวิชาชีพหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกลที่เน้นในด้านการวางแผน ออกแบบ ซ่อมบำรุง หรือสร้างเครื่องบินต่างๆ โดยเฉพาะ ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับการบินหรือเป็นนักบินนะคะ
เรียกว่าเป็นวิศวกรขนานแท้ เพราะเทคโนโลยีอากาศยานเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง มีความเฉพาะเจาะจงมาก คนที่จะทำงานด้านนี้ได้จึงต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติที่กำหนดไว้ วิศวกรอากาศยานจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
และเนื่องจากนโยบายของประเทศไทยที่คาดหวังจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) สถาบันการศึกษาในประเทศยังผลิตวิศวกรในแต่ละปีได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เปิดสาขาวิศวกรรมอากาศยาน หลักสูตรนานาชาติขึ้น
วิศวะฯ ที่นี่น้องๆ จะได้เรียนเน้นในเรื่องของการออกแบบ การวิเคราะห์ รวมไปถึงกระบวนการผลิตเครื่องบิน ในปีแรก นักศึกษาจะได้เรียนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นการปูพื้นให้แน่น พอขึ้นปีสอง จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน เช่น โครงสร้างและการทำงานของเครื่องบิน ทั้งเครื่องบินรบและเครื่องบินพาณิชย์ การออกแบบเครื่องบินผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องยนต์ ไฮดรอลิกส์ และไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนในปี 3 และปี 4 จะเน้นการออกแบบพร้อมศึกษารายละเอียดเครื่องบินจริงๆ รวมถึงทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา นักศึกษาจะมีโอกาสไปเรียนที่โรงเรียนนายเรืออากาศซึ่งมีชื่อเสียงด้าน การสร้างนักบินและการผลิตช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งที่นี่มีอุปกรณ์ เครื่องมือในการเรียนการสอนที่ครบครัน นอกจากโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว จุฬาฯ ยังมีความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกอย่างนาซ่า (NASA) ซึ่งจะส่งวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักศึกษาด้วย ขณะเดียวกันนักศึกษาก็จะได้ไปดูงานต่างประเทศอย่างอินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้วิธีการจัดการในหลายรูปแบบ
น้องๆ วิศวกรที่จบสาขานี้สามารถทำงานได้หลากหลายสาย เช่น วิศวกรในอุตสากรรมการบินและซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรประจำสายการบินต่างๆ วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม รวมถึงตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป เป็นต้น เงินเดือนเริ่มต้น 18, 000-24, 000 ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงานนะคะ นี่ยังไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มด้วย
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีความร่วมมือกับโรงเรียนนายเรืออากาศ และองค์การนาซ่า (NASA)
- วิศวกรเป็นอาชีพเสรีในอาเซียน สามารถไปทำงานต่างประเทศได้
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรในอุตสากรรมการบินและซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรประจำสายการบินต่างๆ, วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน, วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม, งานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป
ฐานเงินเดือนเริ่มต้นของวิศวกรอากาศยาน เฉลี่ย 18, 000-24, 000 (ไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มเติม)
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม. 6 หรือเทียบเท่า และคุณสมบัติผ่าน 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้
1. ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPA) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่า 2.75 โดยต้องมีเอกสารรับรองผลการศึกษา (Trancripts) มาแสดง
2. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 หรือ
- TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 79 หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
โดยสามารถใช้คะแนนผลการสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
3. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- SAT I (Math Level 2) ไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 480
4. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS 800 ไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
- SAT II (Physics and Chemistry) แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 600
- สมัครผ่านระบบอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์ www.ise.eng.chula.ac.th/web/
- ยื่นเอกสารพร้อมชำระค่าสมัคร ที่ สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
728, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
182, 000 บาท/ปี
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิศวกรรมการบินและอวกาศ (อังกฤษ: Aerospace engineering) เป็นสาขาวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการวิจัย, การออกแบบ, การพัฒนา, การสร้าง, การทดสอบ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และ อวกาศยาน[1] แบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ที่
ทับซ้อนกัน ได้แก่ วิศวกรรมอากาศ (อังกฤษ: aeronautical engineering) และวิศวกรรมอวกาศ (อังกฤษ: astronautical engineering). วิศวกรรมอากาศเกี่ยวข้องกับอากาศยานที่ทำงานในชั้นบรรยากาศของโลก แต่วิศวกรรมอวกาศจะเกี่ยวข้องกับอวกาศยานที่ทำงานนอกชั้นบรรยากาศของโลก.
วิศวกรรมการบินและอวกาศเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การสร้าง, และการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังคุณสมบัติของแรงและคุณสมบัติทางกายภาพของอากาศยาน, จรวด, ยานบิน, และยานอวกาศ. สาขานี้ยังครอบคลุมถึงลักษณะทางอากาศพลศาสตร์และพฤติกรรม, ปีก airfoil, พื้นผิวการควบคุมการบิน, การยกตัว, การลากทางอากาศพลศาสตร์, และคุณสมบัติอื่น ๆ ของพวกมัน.
วิศวกรรมอากาศเป็นคำเดิมสำหรับสาขานี้. เมื่อเทคโนโลยีการบินก้วหน้าขั้นไปจนรวมถึงผู้ปฏิบัติงานในอวกาศที่อยู่ภายนอก, คำที่กว้างกว่าได้แก่ "วิศวกรรมการบินและอวกาศ" ได้เข้ามาแทนที่อย่างกว้างขวางในการใช้งานร่วมกัน
ความก้าวหน้าของเส้นทางสายอาชีพ อาทิ สายการบินต่าง ๆ ทั้งสายการบินประจำประเทศ บริษัททำธุรกิจทางด้านเครื่องบิน
บริษัท Third Party ในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น Thai Aviation Industry (TAI), Triumph Aviation Services Asia, Ltd. เป็นต้น บริษัททางด้านสายการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Aeroworks, Asia Westron อีกทั้งบริษัททางด้านผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสม (Composite) เช่น Tiger Composite, Xtreme Composite เป็นต้น บริษัททางด้านเทคโนโลยีอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องบินรบ Gripen ซึ่งเข้า ประจำในกองทัพอากาศไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และทางด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
ชื่อสาขา
สาขาวิศวกรรมอากาศยาน(หลักสูตรนานาชาติ) (Aerospace Engineering (AERO))
ชื่อปริญญา
วศ.บ. (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต)
รายละเอียด
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตและการซ่อมอากาศยานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน กระสวยอวกาศ เฮลิคอปเตอร์ และทุกอย่างที่ใช้หลักในการเคลื่อนที่ในอากาศ โดยอาศัยความรู้ด้านอากาศพลศาสตร์ การขับเคลื่อน การควบคุมหรือพลศาสตร์การบิน การออกแบบโครงสร้าง วัสดุศาสตร์ การยืดหยุ่นทางอากาศ เป็นต้น
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
เทียบเท่า (อาชีวะ)
อาชีพ
- วิศวกรในอุตสากรรมการบินและซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรประจำสายการบินต่างๆ
- วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน
- วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม เป็นต้น
- งานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
1. สายการบินต่าง ๆ ทั้งสายการบินประจำประเทศ
2. บริษัททำธุรกิจทางด้านเครื่องบิน
3. บริษัท Third Party ในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น Thai Aviation Industry (TAI), Triumph Aviation Services Asia, Ltd. เป็นต้น
4. บริษัททางด้านสายการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Aeroworks, Asia Westron อีกทั้งบริษัททางด้านผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสม (Composite) เช่น Tiger Composite, Xtreme Composite เป็นต้น
5. บริษัททางด้านเทคโนโลยีอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องบินรบ Gripen ซึ่งเข้า ประจำในกองทัพอากาศไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และทางด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs)
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
- ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ
- สนใจงานด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน งานวางแผนซ่อมบำรุง แอร์ไลเนอร์
- ควรชอบด้านวิทยาศาสตร์
- ถนัดด้านคำนวณ
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 3.3 แย่
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องๆ คนไหนมีความชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไก มีความสนใจหลงใหลเกี่ยวกับเครื่องบินเป็นพิเศษ คงรู้จักและเคยได้ยินเกี่ยวกับ “วิศวกรรมอากาศยาน” กันมาบ้างนะคะ ซึ่งวิศวกรรมอากาศยาน เป็นสายวิชาชีพหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกลที่เน้นในด้านการวางแผน ออกแบบ ซ่อมบำรุง หรือสร้างเครื่องบินต่างๆ โดยเฉพาะ ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับการบินหรือเป็นนักบินนะคะ เรียกว่าเป็นวิศวกรขนานแท้ เพราะเทคโนโลยีอากาศยานเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง มีความเฉพาะเจาะจงมาก คนที่จะทำงานด้านนี้ได้จึงต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้าไปดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานนานาชาติที่กำหนดไว้ วิศวกรอากาศยานจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
และเนื่องจากนโยบายของประเทศไทยที่คาดหวังจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) สถาบันการศึกษาในประเทศยังผลิตวิศวกรในแต่ละปีได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมมือกับ โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ เปิดสาขาวิศวกรรมอากาศยาน หลักสูตรนานาชาติขึ้น วิศวะฯ ที่นี่น้องๆ จะได้เรียนเน้นในเรื่องของการออกแบบ การวิเคราะห์ รวมไปถึงกระบวนการผลิตเครื่องบิน ในปีแรก นักศึกษาจะได้เรียนพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ และวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นการปูพื้นให้แน่น พอขึ้นปีสอง จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน เช่น โครงสร้างและการทำงานของเครื่องบิน ทั้งเครื่องบินรบและเครื่องบินพาณิชย์ การออกแบบเครื่องบินผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องยนต์ ไฮดรอลิกส์ และไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนในปี 3 และปี 4 จะเน้นการออกแบบพร้อมศึกษารายละเอียดเครื่องบินจริงๆ รวมถึงทำโครงงานวิศวกรรม และออกสหกิจศึกษา นักศึกษาจะมีโอกาสไปเรียนที่โรงเรียนนายเรืออากาศซึ่งมีชื่อเสียงด้าน การสร้างนักบินและการผลิตช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งที่นี่มีอุปกรณ์ เครื่องมือในการเรียนการสอนที่ครบครัน นอกจากโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว จุฬาฯ ยังมีความร่วมมือกับองค์กรระดับโลกอย่างนาซ่า (NASA) ซึ่งจะส่งวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักศึกษาด้วย ขณะเดียวกันนักศึกษาก็จะได้ไปดูงานต่างประเทศอย่างอินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้วิธีการจัดการในหลายรูปแบบ
น้องๆ วิศวกรที่จบสาขานี้สามารถทำงานได้หลากหลายสาย เช่น วิศวกรในอุตสากรรมการบินและซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรประจำสายการบินต่างๆ วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม รวมถึงตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป เป็นต้น เงินเดือนเริ่มต้น 18, 000-24, 000 ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงานนะคะ นี่ยังไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มด้วย
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- วิศวกรเป็นอาชีพเสรีในอาเซียน สามารถไปทำงานต่างประเทศได้
จบมาทำงานอะไร
ฐานเงินเดือนเริ่มต้นของวิศวกรอากาศยาน เฉลี่ย 18, 000-24, 000 (ไม่รวมค่าสวัสดิการต่างๆ และค่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้รับเพิ่มเติม)
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม. 6 หรือเทียบเท่า และคุณสมบัติผ่าน 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้
1. ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPA) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่า 2.75 โดยต้องมีเอกสารรับรองผลการศึกษา (Trancripts) มาแสดง
2. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 550 หรือ
- TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 79 หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
- CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 80
โดยสามารถใช้คะแนนผลการสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
3. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- SAT I (Math Level 2) ไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
- CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 480
4. มีคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- CU-ATS 800 ไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
- SAT II (Physics and Chemistry) แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 600
- สมัครผ่านระบบอินเตอร์เนต ที่เว็บไซต์ www.ise.eng.chula.ac.th/web/
- ยื่นเอกสารพร้อมชำระค่าสมัคร ที่ สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทับซ้อนกัน ได้แก่ วิศวกรรมอากาศ (อังกฤษ: aeronautical engineering) และวิศวกรรมอวกาศ (อังกฤษ: astronautical engineering). วิศวกรรมอากาศเกี่ยวข้องกับอากาศยานที่ทำงานในชั้นบรรยากาศของโลก แต่วิศวกรรมอวกาศจะเกี่ยวข้องกับอวกาศยานที่ทำงานนอกชั้นบรรยากาศของโลก.
วิศวกรรมการบินและอวกาศเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การสร้าง, และการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังคุณสมบัติของแรงและคุณสมบัติทางกายภาพของอากาศยาน, จรวด, ยานบิน, และยานอวกาศ. สาขานี้ยังครอบคลุมถึงลักษณะทางอากาศพลศาสตร์และพฤติกรรม, ปีก airfoil, พื้นผิวการควบคุมการบิน, การยกตัว, การลากทางอากาศพลศาสตร์, และคุณสมบัติอื่น ๆ ของพวกมัน.
วิศวกรรมอากาศเป็นคำเดิมสำหรับสาขานี้. เมื่อเทคโนโลยีการบินก้วหน้าขั้นไปจนรวมถึงผู้ปฏิบัติงานในอวกาศที่อยู่ภายนอก, คำที่กว้างกว่าได้แก่ "วิศวกรรมการบินและอวกาศ" ได้เข้ามาแทนที่อย่างกว้างขวางในการใช้งานร่วมกัน
ความก้าวหน้าของเส้นทางสายอาชีพ อาทิ สายการบินต่าง ๆ ทั้งสายการบินประจำประเทศ บริษัททำธุรกิจทางด้านเครื่องบิน
บริษัท Third Party ในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น Thai Aviation Industry (TAI), Triumph Aviation Services Asia, Ltd. เป็นต้น บริษัททางด้านสายการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Aeroworks, Asia Westron อีกทั้งบริษัททางด้านผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสม (Composite) เช่น Tiger Composite, Xtreme Composite เป็นต้น บริษัททางด้านเทคโนโลยีอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องบินรบ Gripen ซึ่งเข้า ประจำในกองทัพอากาศไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และทางด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เทียบเท่า (อาชีวะ)
- วิศวกรการผลิต อุตสาหกรรมด้านเครื่องต้นกำลังอากาศยาน เครื่องวัดอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน
- วิศวกรออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม โครงสร้าง และอากาศพลศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องบิน ยานยนต์ กังหันลม เป็นต้น
- งานที่ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลทั่วไป
2. บริษัททำธุรกิจทางด้านเครื่องบิน
3. บริษัท Third Party ในส่วนของการซ่อมบำรุงอากาศยาน เช่น Thai Aviation Industry (TAI), Triumph Aviation Services Asia, Ltd. เป็นต้น
4. บริษัททางด้านสายการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Aeroworks, Asia Westron อีกทั้งบริษัททางด้านผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสม (Composite) เช่น Tiger Composite, Xtreme Composite เป็นต้น
5. บริษัททางด้านเทคโนโลยีอากาศยานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ อาทิ เครื่องบินรบ Gripen ซึ่งเข้า ประจำในกองทัพอากาศไทย ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย และทางด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicles : UAVs)
- สนใจงานด้านซ่อมบำรุงอากาศยาน งานวางแผนซ่อมบำรุง แอร์ไลเนอร์
- ควรชอบด้านวิทยาศาสตร์
- ถนัดด้านคำนวณ
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 3.3 แย่
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอากาศยาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ