U-Review

อาชีพในสายบินถ้าอยากมีรายได้ดีต้องเน้นภาษาให้แข็งแรง

                        

       นอกจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างสจ๊วตและแอร์โฮสเตสแล้ว อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายการบินยังมีอีกมากแต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึง อย่างในการซื้อตั๋วก็จะต้องมีพนักงานขายตั๋วเครื่องบิน นั้นก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง แล้วตอนส่งกระเป๋าขึ้นเครื่องก็จะมีฝ่ายคาร์โก้ จนขึ้นเครื่องบินก็จะเจอพนักงานต้อนรับ บนเครื่องยังมีกัปตันขับเครื่องบิน นอกจากนี้ก็จะมีฝ่ายการตลาด ทั้งหมดที่ทำงานในสายการบินล้วนแต่เป็นอาชีพได้ทั้งสิ้น
   
     UploadImageเงินรายได้ในส่วนบนฟ้า ทั้งกัปตันและพนักงานต้อนรับ รายได้จะค่อนข้างสูงเพราะเขาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยชีวิตของผู้โดยสารทั้งลำ ความเสี่ยงก็สูง เวลามีไม่แน่นอน เงินเดือนจึงอยู่ที่หนึ่งแสนขึ้นไป ส่วนภาคพื้นดิน พนักงานขายตั๋วเครื่องบิน รายได้ก็จะเฉลี่ยเท่าๆ กับพนักงานบริษัททั่วไป แต่ความสนุกของมันคือ เราได้ผู้โดยสารแบบหลากหลาย ทำให้เกิดสีสันในการทำงาน ในส่วนของส่วนขนส่ง (คาร์โก้) รายได้ขึ้นอยู่กับว่าได้ทำส่วนไหน เพราะมันมีทั้งส่วนพนักงานรับของ ส่งของ ฝ่ายติดต่อ รายได้จึงเริ่มตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสน ถ้าประสบการณ์สูงและเก่งภาษา

 

UploadImage

    ที่สาขาธุรกิจการบิน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ถึงแม้จะเปิดสอนได้ไม่นานแต่ระบบการสอนมีความทันสมัย เน้นให้ผู้เรียนได้เจอกับการฝึกเสมือนจริงๆ ทุกๆ เทอมจะมีเสริมภาษาอังกฤษหมดในระยะเวลา 4 ปี ส่วนกระบวนการเรียนที่ต้องเจอ ในตอนปีหนึ่ง จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปอย่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม เรียนเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งหน้า ซึ่งมันจะทำให้เรามั่นใจตัวเองมากขึ้น เรียนประวัติการบิน ตั้งแต่ต้นกำเนิด ภาษาที่ใช้ในการบิน ในปีสองก็จะเริ่มเข้าไปแต่ละอุตสาหกรรมหลัก มีให้ไปดูงานหลังจากนั้นมันจะทำให้เรารู้ว่าตัวเองเหมาะกับแนวไหน จนปีสามจะเรียนเจาะลึกวิชาอุตสาหกรรมที่เหลือจากปีสอง มีให้ออกไปสัมภาษณ์ ทำรายงาน การทำแล็ป (ภาคปฏิบัติ) โดยการซื้อเครื่องบินลำจริงที่ปลดประจำการแล้ว ส่วนปีสี่ เทอมแรกเรียนเก็บวิชาที่เหลือจากปีสาม เทอมสองต้องฝึกงาน ซึ่งจะเน้นที่สายการบินภายในประเทศ เช่นการบินไทย ที่เราสามารถเป็นคนสามารถเลือกสายการบินฝึกงานเองได้

UploadImage

 
       เนื่องจากธุรกิจการบินในปัจจุบันนั้นมีหลายสถาบันได้ทำการเปิดสอนกันมากขึ้น อ.สถาวร เลิศสุวรรณกุล หัวหน้าหลักสูตรธุรกิจการบิน ได้บอกถึงจุดแตกต่างจากสถาบันอื่นๆไว้ว่า “ความแตกต่างคงจะเป็นภาษาอังกฤษ โดยที่นี่จะมีวิชาภาษาอังกฤษทุกเทอม และมีแบบทดสอบ โทอิค (TOEIC) เพื่อพัฒนาด้านภาษาให้มีความชำนาญในวิชาชีพภายภาคหน้า เพราะภาษาเป็นหนทางที่สามารถเพิ่มโอกาสการทำงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวหน้าได้ง่ายมากๆ ในปัจจุบัน ” แล้วหากคนไหนที่สนใจอยากเรียนสาขานี้ แค่จบม.6 จบสายไหนมาก็ได้ ไม่ว่าทั้ง สายวิทย์ สายศิลป์ ปวช. ปวส. ได้หมดขอแค่ให้มีใจรักบริการ ส่วนเรื่องภาษาที่นี่มีสอนให้ และถึงแม้ว่าสาขาธุรกิจการบินจะเพิ่งเปิดได้ไม่นานแต่ทางผู้บริหารมีสนุบสนุนเต็มที่ อย่างห้องแล็ปภาคปฏิบัติ ที่ทางสาขาขอแค่ทำในส่วนห้องเครื่องบินจำลองหรือม็อคอัพ (MockUp) เท่านั้น แต่ท่านให้งบไปซื้อลำจริงที่ปลดประจำการมาเลย ถือว่าเป็นน่าเรียนสาขาที่น่าเรียนอีกสาขาหนึ่งเลยก็ว่าได้  

   

 

         

 

 

 

 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บัญชี ธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ...

เกษตร สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ เดิมคือเคหเศรษฐศาสตร์ สังกัดอยู่ในคณะเกษตร ...

ทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยกว่า 100 แห่ง ทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ...