U-Review

เรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์สุดล้ำ พร้อมสู่การปั้นอนาคตโลกยานยนต์ ที่นี่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) กับหลักสูตร วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ DPU

   เรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์สุดล้ำ พร้อมสู่การปั้นอนาคตโลกยานยนต์ ที่นี่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) กับหลักสูตร วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ DPU

    ในโลกที่อุตสาหกรรมยานยนต์ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ด้านวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างอนาคตในวงการนี้ ที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะช่วยให้คุณเรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ล้ำสมัย ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการปั้นอนาคตในอุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่
 


   ทำไมต้องเรียน วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ DPU
  • ขอใบรับรองจากสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ได้
  • แห่งเดียวในไทยที่สอนแบตเตอรี่ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ
  • อาจารย์ผู้สอนเชี่ยวชาญด้านการบริการและบำรุงรักษายานยนต์ มีประสบการณ์ทำงานในศูนย์บริการรถยนต์กว่า 20 ปี
  • มีการสอนระบบควบคุมรถยนต์ ระบบ AI และการปรับแต่งเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
  • เป็นพันธมิตรกับผู้นำเทคโนโลยี EV ฝึกงานได้นานถึง 10 เดือนและได้รับการพิจารณาการจ้างงานเป็นพิเศษ
  • ศึกษาดูงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน EV ของจีน
  • จบ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่างอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเทียบโอนหน่วยกิต เรียนจบใน 2 ปี
  • มีภาคพิเศษ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์


   หลักสูตรใหม่           
  • สร้างบัณฑิตที่มีทักษะการออกแบบและสร้างส่วนประกอบยานยนต์ ซ่อมบํารุง และบริการ เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ซึ่งเป็นที่ต้องการสูงในตลาดงาน
  • ผู้เรียนจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางพร้อมได้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และการออกแบบระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่มีคุณค่าสูงในอุตสาหกรรม
  • เตรียมความพร้อมสู่อนาคต เมื่อยานยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นมาตรฐานใหม่นักศึกษาที่มีความรู้ในด้านนี้จะได้เปรียบในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • หลักสูตรปูพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับบัณฑิตให้มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทที่มีนวัตกรรมหรือทำงานในแผนกงานวิจัยและพัฒนา R&D
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาซึ่งจำเป็นต่อการทำงานในบริษัทต่างชาติในอนาคต


   วิชาน่าเรียน           
  • เทคโนโลยีระบบต้นกำลังยานยนต์ (Automotive Power System Technology)
   เรียนรู้เครื่องยนต์และต้นกำลังของยานยนต์แบบต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน ยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า การส่งกำลัง รูปแบบต่างๆ ของมอเตอร์ขับเคลื่อน การทดสอบสมรรถนะ เทคนิคการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ เช่น การซุปเปอร์ชาร์จ เป็นต้น การวิเคราะห์ไอเสียและการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากไอเสีย
  • การออกแบบและสร้างชิ้นส่วนทางกล (Design and Build of Mechanical Parts)
   หลักเกณฑ์ทั่วไปในการออกแบบชิ้นส่วนของยานยนต์และชิ้นส่วนทางกล  ความแข็งแรงของวัสดุ คุณสมบัติและการเลือกใช้วัสดุ การต่อที่ถอดได้และถอดไม่ได้ การออกแบบชิ้นส่วนทางกลง่าย เช่น เกียร์ เพลา สกรูส่งกำลัง เฟืองตรง เป็นต้น กลไกในการส่งถ่ายกำลังและข้อต่อ กลไก รูปร่างและการเคลื่อนไหว การออกแบบชิ้นส่วนทางกลที่มีกลไกทำงานร่วมกัน เช่น เจอร์นัลแบริ่งและโรลลิ่งแบริ่ง เพลาข้อต่อ ชุดเฟืองส่งกำลัง เป็นต้น คุณลักษณะของชิ้นส่วนทางกล กรรมวิธีในการออกแบบ ทฤษฎีของความเสียหายที่ใช้ในการออกแบบ ปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การสร้างชิ้นส่วนทางกลด้วยการพิมพ์ 3 มิติ เรซินคาร์บอนไฟเบอร์ และการหล่อโลหะ
  • การทดสอบประสิทธิภาพยานยนต์ (Automotive Efficiency Measurement and Testing)
   ศึกษาการวัดและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องยนต์ต้นกำลัง การปล่อยไอเสีย ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ความจุและการสิ้นเปลืองพลังงาน ประสิทธิภาพของขนาดล้อและความดันยางรถยนต์ ระยะทางที่วิ่งได้ การสั่นสะเทือน ระบบไฟฟ้า การชน สมรรถนะการขัขขี่ เซนเซอร์และระบบวัดประสิทธิภาพต่างๆ เทคโนโลยีการวัดประสิทธิภาพ การเก็บและการประมวลผลข้อมูล การขอรับรองมาตรฐานยานยนต์
  • แบตเตอรี่และการจ่ายพลังงานไฟฟ้า (Battery and Electrical Energy Distribution)
   เรียนรู้แบตเตอรี่ประเภทต่าง ๆ แบบน้ำ แบบอิเล็กทรอไลท์และแบบสถานะของแข็ง ธาตุที่สำคัญ คุณสมบัติและพันธะเคมีของแบตเตอรี่ การอัดและคายประจุ การจ่ายพลังงานของแบตเตอรี่ วงจรและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าแบตเตอรี่ ปฏิกิริยาเคมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่ การลัดวงจร จุดติดไฟถาวร การสมดุลเซลล์และวงจรป้องกันของแบตเตอรี่ การถ่ายเทและระบายความร้อนแบตเตอรี่ การเสื่อมและการกำจัดแบตเตอรี่ การวัดและทดสอบประสิทธิภาพแบตเตอรี่ การใช้งานไฮโดรเจนเพื่อการกำเนิดพลังงานสำหรับยานยนต์ระบบเครื่องยนต์ไฮโดรเจน การผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน
  • การบริการและบำรุงรักษายานยนต์ (Automotive Service and Maintenance)
   เรียนรู้ขั้นตอนการตรวจสภาพยานยนต์การบริการ การรับประกัน การบำรุงรักษายานยนต์ปัญหาที่พบบ่อยเช่น เครื่องยนต์ระบบส่งกำลัง ระบบระบายความร้อน ระบบหล่อลื่น น้ำมันเฟืองท้าย น้ำมันเบรก คลัตช์น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์กรองอากาศ กรองเชื้อเพลิง สายพาน ช่วงล่างและกันสะเทือน ระบบไฟสัญญาณและแสงสว่าง แบตเตอรี่ ระบบปรับอากาศ สีและเคลือบผิว เป็นต้น อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น การประมาณค่าใช้จ่าย มาตรฐานการทำงานการบำรุงรักษา การจัดการภายในอู่และศูนย์บริการ
 
   รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่
  • สอนการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาในการซ่อมบำรุงยานยนต์สมัยใหม่เพื่อใช้สแกนหาโค้ดข้อผิดพลาดในระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ เช่น การวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์, ระบบเบรก, ระบบส่งกำลัง, และระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
  • เจาะลึกการออกแบบชิ้นส่วนทางกลด้วยโปรแกรม Solidworks พร้อมทั้ง Simulation การทำงานของชิ้นส่วนทางกล และสร้าง Model ของชิ้นงานที่ออกแบบ
  • นักศึกษาทุกคนได้ลงมือต่อวงจรไฟฟ้าแบตเตอรี่ ใช้โปรแกรมระบบจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System) และทดสอบประสิทธิภาพแบตเตอรี่โดยการต่อกับโหลดจริง
  • สนับสนุนให้นักศึกษาทำ mini-Project เกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และเทคนิคการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง เช่น Win OLS, BitEdit, PCMFlash
 

   จบมาทำงานอะไรได้บ้าง?
  • วิศวกรออกแบบยานยนต์ (Automotive Design Engineer)
  • วิศวกรผลิตยานยนต์ (Process Engineer)
  • วิศวกรระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ (Automotive Electrical and Electronics Engineer)
  • วิศวกรระบบส่งกำลังยานยนต์ (Automotive Powertrain Engineer)
  • วิศวกรทดสอบยานยนต์ (Automotive Test Engineer)
  • วิศวกรระบบช่วยขับขี่ (Automotive Systems Engineer)
  • วิศวกรความปลอดภัยยานยนต์ (Automotive Safety Engineer)
  • วิศวกรซอฟต์แวร์ยานยนต์ (Automotive Software Engineer)
  • ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Consultant)
  • ผู้ประกอบการด้านยานยนต์ (Automotive Entrepreneur)
 

   Partner ของหลักสูตร           
  • บริษัท  Arrow Energy จำกัด
  • บริษัท TSA Intergroup จำกัด
  • บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
 
   หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร       

   ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ม.6 /ปวช. /กศน. หรือเทียบเท่า เรียนวันจันทร์-ศุกร์
   ภาคปกติ / เทียบโอน หลักสูตร 2 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่าง   อิเล็กทรอนิกส์ เรียนวันจันทร์-ศุกร์
   ภาคพิเศษ / เทียบโอน หลักสูตร 2 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

   
ค่าใช้จ่ายในการเรียน            
  • 4 ปี ภาคปกติ ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 357,000
  • 2 ปี ภาคปกติ / เทียบโอน ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 196,000
  • 2 ปี ภาคพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ / เทียบโอน ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 202,000
 

   วิธีการสมัครเรียน  
  • สมัคร Online ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คลิก https://bit.ly/4f3Wr5N 
  • สมัครที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา หรือการกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) Line : @DPUDek68

   หากคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่ CITE DPU คือจุดเริ่มต้นที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมาย มาเรียนรู้เทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมเตรียมความพร้อมสู่โลกยานยนต์ที่ไม่หยุดพัฒนา!


 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

สาขาการจัดการโรงแรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

การบูรณาการวิชาการด้านศิลปศาสตร์และการจัดการเข้าไว้ด้วยกัน ...

คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

กระบวนการเรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเน้นงานกลุ่ม ...

สาขาการตลาด (Marketing Management ) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการการตลาด และการสื่อสารการตลาด ...