ต้องทำอย่างไรเมื่ออยากเป็น "นักบัญชียุคดิจิทัล" เทคนิคจากรุ่นพี่สาขาการบัญชี : U-Showcase
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีกี่สมัย ‘อาชีพด้านบัญชี’ ก็ยังคงเป็นอาชีพยอดฮิต และติดโผอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุดอยู่ทุกครั้งไป แน่นอนว่านักบัญชีทุกคนล้วนต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลข และเอกสารหลักฐานทางการเงินต่าง ๆ ของบริษัท และยิ่งในยุคนี้นักบัญชีมืออาชีพต้องเก่งภาษา เก่งภาษี เก่งไอที และมีจรรยาบรรณ เพื่อเป็น “นักบัญชียุคดิจิทัล” ให้ก้าวทันกับยุคดิจิทัล Thailand 4.0
หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดี ก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจของเรา ซึ่งวันนี้พี่ ๆ Admission Premium จะพาน้อง ๆ ก้าวสู่เส้นทางนักบัญชียุค 4.0 ไปกับพี่กิฟฟี่น ณัฐสิมา พจน์สมพงษ์ รุ่นพี่คนสวยจากสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
ทำไมเลือกเรียนที่แสตมฟอร์ด
ก่อนอื่นคือพี่ดูที่มหาวิทยาลัยก่อน พี่อยากได้ภาษาอังกฤษ ประกอบกับตอนพี่เรียนมัธยมที่โรงเรียนพระแม่มารีสาทร ทางมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดได้มีโอกาสเข้าไปแนะแนวในโรงเรียน ซึ่งแสตมฟอร์ดสามารถตอบโจทย์พี่ได้และยังได้สังคมที่เป็นชาวต่างชาติ ก็เลยเลือกที่จะมาเรียนที่นี่
ประสบการณ์ในการเรียน
พี่มองว่ามีทั้งส่วนที่ยากและง่าย ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าตั้งใจเรียนมากน้อยแค่ไหน แต่ว่าสังคมในการเรียนของที่แสตมฟอร์ดไม่มีความอึดอัด มีแต่ความสนุกสนาน อาจารย์สอนทั่วถึง วิชาที่พี่ชอบคือวิชา Managerial Accounting เรียนเกี่ยวกับการคิดต้นทุนสินค้าต่างๆ พี่เป็นคนที่ชอบการคำนวณ พอได้มาเรียน Costing มันทำให้พี่มองเห็นว่าเราจะวางแผนกำไรเท่าไหร่ เพราะเราจะรู้พื้นฐานต้นทุนของสินค้าก่อนนั่นเอง
อยากเรียนสายนี้แต่ไม่เก่งคณิตฯ เรียนได้ไหม
น้อง ๆ หลายคนคิดว่าการเรียนบัญชีต้องเก่งคณิตฯ แต่จริง ๆ แล้วเพียงแค่เราสามารถบวก ลบ คูณ หาร ที่เป็นพื้นฐานได้ก็พอแล้ว แต่อาจจะมีการคำนวณที่ยากขึ้นมาหน่อย ส่วนคุณสมบัติของน้อง ๆ ที่จะเรียน อันดับแรกที่สำคัญคือต้องมีความรอบคอบ รอบคอบเรื่องตัวเลข เพราะมันเกี่ยวกับเงิน โดยส่วนตัวพี่คิดว่าความรอบคอบควรมีทุกสายงานอยู่แล้ว ซึ่งในสายงานบัญชีก็ต้องมากขึ้นหน่อย
เริ่มจากศูนย์ด้วยการปูพื้นฐานด้านภาษา
พี่ว่าหลักสูตร Bilingual (หลักสูตร 2 ภาษา) จะเหมาะสำหรับเด็กไทย อย่างเช่น พี่ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมา ไม่ได้เรียนอินเตอร์มาตอนมัธยม แต่อยากได้ภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย ก็เลือกเรียน Bilingual ตอนเข้ามาปี 1 เราจะได้ปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ ก็ได้เก็บวิชาของคณะบางตัวที่เป็นภาษาไทยไปด้วย ซึ่งมันจะทำให้เราได้ปรับตัว ถึงแม้ว่าเวลาสอน อาจารย์จะพูดเป็นภาษาไทย แต่ว่าเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สไลด์ที่ใช้สอนก็เป็นภาษาอังกฤษ เพียงแค่อาจารย์พยายามจะอธิบายเป็นภาษาไทยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น และพอถึงเวลาที่เราปรับพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษหมดแล้ว จากเราก็จะเรียนเป็นอินเตอร์ และก็ได้เจอเด็กอินเตอร์จากนานาชาติทั้งหมดเลย
โอกาสการทำงานเด็กภาคไทย vs เด็กอินเตอร์
พี่ว่าสิ่งที่เป็นความต่างที่สำคัญมากคงเป็นเรื่องของภาษา ถ้าเราเรียนเป็นไทย เราก็จะมีขอบเขตการทำงานแค่ในประเทศ แต่ถ้าเราเรียนอินเตอร์ เราก็จะได้เปรียบในเรื่องของภาษา ขอบเขตการทำงานก็เปิดกว้างมากกว่า ซึ่งอาจจะมีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทต่างชาติ
ผลกระทบ และการรับมือของนักบัญชีในยุค 4.0
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามากน้อยแค่ไหน สุดท้ายแล้วมันก็อยู่ที่กระบวนการคิดของมนุษย์ คือคอมพิวเตอร์คำนวณได้ แต่คนที่ป้อนข้อมูลก็ต้องเป็นคน ซึ่งคนที่สามารถป้อนข้อมูลแล้วรู้ลึกก็ต้องเป็นนักบัญชี โดยส่วนตัวพี่คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับทักษะส่วนบุคคลว่าจะสามารถพัฒนาทักษะให้โดดเด่นกว่าคนอื่นได้อย่างไร
แต่ในด้านของหลักสูตร ทางสาขาก็พาออกไปทำกิจกรรมข้างนอก เช่น เทอมที่ผ่านมาพี่เรียนเรื่อง Taxation เรื่องภาษี ก็ได้ไปดูงานที่ Mazars ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบบัญชี ภาษี และบริการให้คำปรึกษา โดยอาจารย์พาไปดูว่ามีแผนกอะไรบ้าง ทำงานอะไรบ้าง ได้ไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งก็ทำให้พี่ได้รู้ว่าในสายงานบัญชีก็มีหลายแผนก ไม่ใช่แค่บัญชีอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีวิทยากรพิเศษเป็นหัวหน้าฝ่ายด้านการเงินของบริษัทมาอธิบายเรื่องภาษีอีกด้วย
จบแล้วอยากทำงานด้านไหน
พี่เชื่อว่าคนที่เรียนบัญชีหลาย ๆ คนต่างก็ใฝ่ฝันที่จะเป็นออดิท หรือที่เรียกว่าผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) เพราะเงินเดือนดี แต่กว่าจะไปถึงตำแหน่งนั้นเราก็ต้องเก็บประสบการณ์ คือมีการสอบผ่านขั้นตอนของบัญชี เราต้องทำงานเก็บเวลา ซึ่งเราจะได้ประสบการณ์จากตรงนี้อยู่แล้ว ถึงตอนนั้นความฝันของเราอาจจะเปลี่ยนก็ได้
บัญชีที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดไม่ได้ยากอย่างที่คิด ไม่ต้องกลัวคณิตศาสตร์ อย่างที่บอกเราไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ยากขนาดนั้น ใช้แค่นิด ๆ หน่อย ๆ อย่าไปกลัว แล้วที่แสตมฟอร์ดก็ตอบโจทย์ด้านภาษา และยังมีโอกาสในการเลือกที่ทำงานมากกว่าคนอื่น ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม
- คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี สาขาการบัญชี
- เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดี ก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจของเรา ซึ่งวันนี้พี่ ๆ Admission Premium จะพาน้อง ๆ ก้าวสู่เส้นทางนักบัญชียุค 4.0 ไปกับพี่กิฟฟี่น ณัฐสิมา พจน์สมพงษ์ รุ่นพี่คนสวยจากสาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
ทำไมเลือกเรียนที่แสตมฟอร์ด
ก่อนอื่นคือพี่ดูที่มหาวิทยาลัยก่อน พี่อยากได้ภาษาอังกฤษ ประกอบกับตอนพี่เรียนมัธยมที่โรงเรียนพระแม่มารีสาทร ทางมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดได้มีโอกาสเข้าไปแนะแนวในโรงเรียน ซึ่งแสตมฟอร์ดสามารถตอบโจทย์พี่ได้และยังได้สังคมที่เป็นชาวต่างชาติ ก็เลยเลือกที่จะมาเรียนที่นี่
ประสบการณ์ในการเรียน
พี่มองว่ามีทั้งส่วนที่ยากและง่าย ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าตั้งใจเรียนมากน้อยแค่ไหน แต่ว่าสังคมในการเรียนของที่แสตมฟอร์ดไม่มีความอึดอัด มีแต่ความสนุกสนาน อาจารย์สอนทั่วถึง วิชาที่พี่ชอบคือวิชา Managerial Accounting เรียนเกี่ยวกับการคิดต้นทุนสินค้าต่างๆ พี่เป็นคนที่ชอบการคำนวณ พอได้มาเรียน Costing มันทำให้พี่มองเห็นว่าเราจะวางแผนกำไรเท่าไหร่ เพราะเราจะรู้พื้นฐานต้นทุนของสินค้าก่อนนั่นเอง
อยากเรียนสายนี้แต่ไม่เก่งคณิตฯ เรียนได้ไหม
น้อง ๆ หลายคนคิดว่าการเรียนบัญชีต้องเก่งคณิตฯ แต่จริง ๆ แล้วเพียงแค่เราสามารถบวก ลบ คูณ หาร ที่เป็นพื้นฐานได้ก็พอแล้ว แต่อาจจะมีการคำนวณที่ยากขึ้นมาหน่อย ส่วนคุณสมบัติของน้อง ๆ ที่จะเรียน อันดับแรกที่สำคัญคือต้องมีความรอบคอบ รอบคอบเรื่องตัวเลข เพราะมันเกี่ยวกับเงิน โดยส่วนตัวพี่คิดว่าความรอบคอบควรมีทุกสายงานอยู่แล้ว ซึ่งในสายงานบัญชีก็ต้องมากขึ้นหน่อย
เริ่มจากศูนย์ด้วยการปูพื้นฐานด้านภาษา
พี่ว่าหลักสูตร Bilingual (หลักสูตร 2 ภาษา) จะเหมาะสำหรับเด็กไทย อย่างเช่น พี่ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมา ไม่ได้เรียนอินเตอร์มาตอนมัธยม แต่อยากได้ภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย ก็เลือกเรียน Bilingual ตอนเข้ามาปี 1 เราจะได้ปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ ก็ได้เก็บวิชาของคณะบางตัวที่เป็นภาษาไทยไปด้วย ซึ่งมันจะทำให้เราได้ปรับตัว ถึงแม้ว่าเวลาสอน อาจารย์จะพูดเป็นภาษาไทย แต่ว่าเนื้อหาการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด สไลด์ที่ใช้สอนก็เป็นภาษาอังกฤษ เพียงแค่อาจารย์พยายามจะอธิบายเป็นภาษาไทยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น และพอถึงเวลาที่เราปรับพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษหมดแล้ว จากเราก็จะเรียนเป็นอินเตอร์ และก็ได้เจอเด็กอินเตอร์จากนานาชาติทั้งหมดเลย
โอกาสการทำงานเด็กภาคไทย vs เด็กอินเตอร์
พี่ว่าสิ่งที่เป็นความต่างที่สำคัญมากคงเป็นเรื่องของภาษา ถ้าเราเรียนเป็นไทย เราก็จะมีขอบเขตการทำงานแค่ในประเทศ แต่ถ้าเราเรียนอินเตอร์ เราก็จะได้เปรียบในเรื่องของภาษา ขอบเขตการทำงานก็เปิดกว้างมากกว่า ซึ่งอาจจะมีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทต่างชาติ
ผลกระทบ และการรับมือของนักบัญชีในยุค 4.0
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามากน้อยแค่ไหน สุดท้ายแล้วมันก็อยู่ที่กระบวนการคิดของมนุษย์ คือคอมพิวเตอร์คำนวณได้ แต่คนที่ป้อนข้อมูลก็ต้องเป็นคน ซึ่งคนที่สามารถป้อนข้อมูลแล้วรู้ลึกก็ต้องเป็นนักบัญชี โดยส่วนตัวพี่คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับทักษะส่วนบุคคลว่าจะสามารถพัฒนาทักษะให้โดดเด่นกว่าคนอื่นได้อย่างไร
แต่ในด้านของหลักสูตร ทางสาขาก็พาออกไปทำกิจกรรมข้างนอก เช่น เทอมที่ผ่านมาพี่เรียนเรื่อง Taxation เรื่องภาษี ก็ได้ไปดูงานที่ Mazars ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบบัญชี ภาษี และบริการให้คำปรึกษา โดยอาจารย์พาไปดูว่ามีแผนกอะไรบ้าง ทำงานอะไรบ้าง ได้ไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งก็ทำให้พี่ได้รู้ว่าในสายงานบัญชีก็มีหลายแผนก ไม่ใช่แค่บัญชีอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีวิทยากรพิเศษเป็นหัวหน้าฝ่ายด้านการเงินของบริษัทมาอธิบายเรื่องภาษีอีกด้วย
จบแล้วอยากทำงานด้านไหน
พี่เชื่อว่าคนที่เรียนบัญชีหลาย ๆ คนต่างก็ใฝ่ฝันที่จะเป็นออดิท หรือที่เรียกว่าผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) เพราะเงินเดือนดี แต่กว่าจะไปถึงตำแหน่งนั้นเราก็ต้องเก็บประสบการณ์ คือมีการสอบผ่านขั้นตอนของบัญชี เราต้องทำงานเก็บเวลา ซึ่งเราจะได้ประสบการณ์จากตรงนี้อยู่แล้ว ถึงตอนนั้นความฝันของเราอาจจะเปลี่ยนก็ได้
บัญชีที่มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดไม่ได้ยากอย่างที่คิด ไม่ต้องกลัวคณิตศาสตร์ อย่างที่บอกเราไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ยากขนาดนั้น ใช้แค่นิด ๆ หน่อย ๆ อย่าไปกลัว แล้วที่แสตมฟอร์ดก็ตอบโจทย์ด้านภาษา และยังมีโอกาสในการเลือกที่ทำงานมากกว่าคนอื่น ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม
- คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี สาขาการบัญชี
- เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด