U-Review

"เปิดโลกทัศน์ ผ่านภาพยนตร์ แม่บทแห่งการสื่อสาร" รีวิวสาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล : U-Review

 
ภาพยนตร์สื่อกลางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เราใช้การเล่าเรื่องผ่านภาพ การเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้คนจากประเทศหนึ่ง สามารถเข้าใจเรื่องราวของอีกประเทศหนึ่งได้ผ่านภายนตร์ ความน่าอัศจรรย์ของภาพยนตร์จึงไร้ขีดจำกัด ก้าวข้ามข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ทางสังคมได้อย่างง่ายดาย เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เราได้เห็นโลกในมุมมองที่ต่างออกไป โลกที่สะท้อนผ่านสายตาในมุมมองที่ไม่เหมือนเรา ทั้งเรื่องราวที่ตกลกขบขัน เรื่องราวชวนขนหัวลุกน่าหวาดผวา เรื่องราวซาบซึ้งน้ำตาไหล และเรื่องราวของความจริงที่เกิดขึ้นในมุมใดมุมหนึ่งของสังคม จากที่เคยซ่อนเร้นกลับถูกยกขึ้นมาตีแผ่ โลดแล่นอยู่บนจอเงิน



UploadImage
 
“สาขานี้จะสอนให้นักศึกษาทำงานได้อย่าง ไฮบริด สามารถผสมผสานเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ให้ทันกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
อาจารย์ มานินทร์ เจริญลาภ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 


การเรียนการสอนในคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเป็นไปในรูปแบบที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ครอบคลุมการผลิตภาพยนตร์ในทุกด้าน ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนการผลิต ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนหลังการผลิต สร้างน้องๆ ให้สามารถทำงานได้อย่าง ไฮบริด (Hybrid) เป็นสวนผสมที่สามารถทำงานได้ทั้งในวงการภาพยนตร์ และสื่ออื่นๆ สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน ไม่ติดอยู่กับแพลตฟอร์ม (Platform) ใดแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่นี่น้องๆ จะได้เรียนกระบวนการทุกอย่างผ่านการทำโปรเจค เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อไหน แพลตฟอร์มใดกระบวนการ และวิธีคิดต่างเป็นสิ่งสำคัญ


 
UploadImage

“เน้นพื้นฐาน และการเปิดโลกทัศน์ ได้ดูเยอะ ได้ฟังเยอะ มันจะสามารถทำให้เราคิดได้เยอะ และคิดได้แตกต่าง”
อาจารย์ ธีระพันธ์ ชนาพรรณ
หัวหน้าสาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
 


ในปีแรกของการเรียน น้องๆ จะได้เรียนพื้นฐานของภาพยนตร์ ก่อนเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า Jump Start ที่เป็นการให้น้องๆ ได้เรียนรู้จริงโดยการฝึกปฏิบัติ ทดลองทำจริง ควบคู่กันไป เป็นเหมือนการเปิดโลกทัศน์สู่โลกภาพยนตร์ของน้องๆ จะได้ดูว่าการผลิตภาพยนตร์มีขั้นตอน วิธีการอย่างไร เป็นการกระตุ้นความคิด และสร้างจุดเด่นข้อแตกต่างให้กับผลงานตัวเองในเวลาต่อไป
 


จากนั้นในชั้นปีที่ 2 น้องๆ จะได้เรียนในรูปแบบ Project-Based Learning หรือการให้โปรเจคน้องๆ ทำเป็นฐาน ต่อยอดด้วยการนำเอาความรู้ที่ได้จากการเรียนในวิชาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในโปรเจค หรือแม้แต่การนำเอาวัตถุดิบของโปรเจค จากภาพยนตร์ที่ทำไว้แล้วในวิชาหนึ่ง มาตัดต่อใหม่ เล่าเรื่องในแบบของตัวเองในอีกวิชาหนึ่งก็ได้ ในชั้นปี 3 จะเริ่มได้ลงมือผลิตภาพยนตร์มากขึ้น พร้อมเพิ่มพูนความรู้ ความคิด และใช้อุปกรณ์ที่เท่ากับ หรือใกล้เคียงที่ใช้กันในการทำงานจริงมากขึ้น  จนกระทั้งปีสุดท้ายของการเรียน จะเป็นการบูรณาการวิชาต่างๆ มีการลองให้น้องๆ ทำการตลาดของภาพยนตร์ที่สร้างเอง ไปจนถึงการติดต่อเอาไปฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย
 


UploadImage



ตลาดงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในปัจจุบันเอง ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในโรงภาพยนตร์ และแผ่นฟิล์มอีกแล้ว เมื่อมีเทคโนโลยีมือถือ สื่อดิจิทัล และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเข้ามามีส่วนสำคัญ และใครๆ ต่างก็มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีพื้นฐานเหล่านี้ ภาพยนตร์จึงมีตลาดที่กว้างขวางมาก เราสามารถผลิต และเผยแพร่งานในแพลตฟอร์ม และดีไวท์ (Device) ไหนก็ได้ การแข่งขันในตลาดจึงสูงเป็นเงาตามตัว ผู้ผลิตภาพยนตร์เองก็จำเป็นต้องแข็งแกร่งขึ้น ต้องเป็นผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญ มีโลกทัศน์ที่กว้างขวาง และพัฒนาคอนเทนท์ (Content) ให้ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับสื่อที่อยากใช้เผยแพร่


 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อักษรศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ...

ดุริยางคศาสตร์ สาขาการแสดงดนตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งทีสามของประเทศ ...

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาคณิตศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่นได้เยอะแยะมากมาย ...