U-Review

HR อาชีพที่เติบโตได้ดีในต่างประเทศ แต่ที่ไทยกลับไม่ค่อยมีคนรู้จัก


      HR หรือ ฝ่ายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สำหรับในต่างประเทศ อย่างอเมริกา HR เป็นหนึ่งในสาขาที่นักศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาลงทะเบียนเรียนกันมากที่สุดทุกปี และติด 1 ใน 10 อาชีพที่มีเงินเดือนสูงสุดในอเมริกา โดยเงินเดือนเฉลี่ยเริ่มต้นในระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ ประมาณ 1,375,666 บาท และค่าเฉลี่ยเงินเดือนในช่วงกลางสูงถึง ประมาณ 2,360,671 บาท 

      UploadImageท่านอาจารย์ อภิรัฐ ศิริวงษ์ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความหมายของ HR ไว้สั้นๆ ว่า “HR หรือหรือบางคนก็เรียกว่า ฝ่ายบุคคล ทำหน้าที่คอยหาคนเข้ามาทำงานในองค์กร จากการคัดสรร เสร็จแล้วต้องคอยพัฒนาความรู้ให้เขา ประเมินให้เขา ให้สวัสดิการ ให้เงินเดือน จนเกษียณอายุออกไป”
 
        อาจารย์ อภิรัฐ กล่าวต่อว่า “ที่จริงทุกบริษัทมันต้องมีงานนี้อยู่และมีมานานแล้ว ส่วนในระดับโลก ในยุค 10 ปีให้หลังมานี้มันถูกพิสูทน์แล้วว่า HR มีความสำคัญกับองค์กร ซึ่งเดิมทีเราให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นก่อน ถัดมาเราให้ความสำคัญกับลูกค้า ที่มาซื้อของอุดหนุนเราเอาเงินมาให้เรา แต่ปัจจุบันเขาพบว่าพนักงานในองค์กรต่างหากที่จะเป็นคนหารายได้ เอาสินค้าไปขายหรือสร้างสินค้าที่จะมีคุณภาพที่ดี”
 
      UploadImageHR ยังแยกได้อีก 2 ประเภทการทำงาน คือ HRM (Human  Resource  Management)   หมายถึง  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ  เป็น HR ประเภทสรรหาคัดเลือก เรื่องเงินเดือน พูดง่ายๆ เรื่องของการดูแลคน และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย  คือก่อนเข้าทำงาน  และหลังพ้นจากงานเป็นภารกิจของ HRM นั่นเอง และ HRD (Human  Resource  Development)   หมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ  เช่น  ฝึกอบรม   ฝึกปฏิบัติการ  ศึกษาดูงาน  ฯลฯ หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น เงินเดือนสำหรับเริ่มต้นระดับปริญญาตรีอยู่ที่ 12,000 – 15,000 บาท แต่ถ้าเลื่อนไปในระดับ หัวหน้า HR แบบขั้นแรกจะตกที่ 300,000  บาทต่อปี หรือ 25,000 บาทต่อเดือน

      UploadImageที่สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ม.รังสิต ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในสาขาในระยะเวลา 4 ปี ไว้ดังนี้ โดยในช่วงชั้นปีที่หนึ่ง จะได้เรียนวิชาในคณะแบบพื้นฐานทั่วไปอย่างเรียนภาษาไทย อังกฤษ วิทยาศาสตร์ พวกพื้นฐานทั่วไปตอนเรียน ม. 6  ปีสองขึ้นอยู่ที่แต่ละคนจะลงเรียน แต่หลักๆ ต้องเลือกลงเป็นวิชาเอกอย่างวิชาคอมฯ บัญชี เศรษฐศาสตร์ ส่วนปีสามส่วนใหญ่จะลงวิชาเอกเช่นกัน อย่างวิชาที่เกี่ยวกับสรรหาคัดเลือก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผล การปฏิบัติงาน พนักงานสัมพันธ์ หลังจากนั้นจะได้ฝึกงานช่วงซัมเมอร์หลังจบปีสาม หลังจากนั้นปีสี่จะได้กลับมาเรียนวิชาสัมมนาเป็นลักษณะให้งานทำมากกว่าที่จะมานั่งเรียน โดยให้นิสิตได้โชว์ผลงานที่ได้เรียนไปทั้งหมด

      จากการที่มีสายงานถึงสองทางเพราะฉะนั้นน้องๆ ที่จบสาขานี้จะทำสายงานไหนก็ขึ้นขึ้นอยู่กับบุคลิกและความชอบของตัวเรา เพราะลักษณะงานทั้งสองมันต้องการคนที่มีบุคลิกต่างกัน ถ้าคนที่ชอบทำงานเอกสาร ก็ไปทางด้าน HRM เพราะจะดูกฎระเบียบวินัย แต่ถ้าชอบงานที่ Action ออกไปข้างนอกบ่อยๆ ไม่อยู่กับที่ก็ HRD แต่ทั้งสองทางนี้ตัวเราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ให้เข้ากับมันได้ แต่โดยพื้นฐานต้องเป็นที่ชอบติดต่อ ประสานงาน สื่อสาร กับคน ไม่เกิดอคติกับคนอื่นง่ายเกินไป จึงสามารถทำงาน HR ได้แล้ว 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากพูดถึงอาชีพนักประชาสัมพันธ์ หรือ พีอาร์ น้องๆ อาจจะคิดว่าเป็นอาชีพเบื้องหน้าที่คอยต้อนรับและให้ข้อมูลลูกค้าอยู่เคาท์เตอร์ ...

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจไซเบอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เพื่อบทบาทการสร้างดุลยภาพ ...

นิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นคณะยอดนิยมตลอดกาลของน้องๆ ...