U-Review

“วิศวกรรมขนส่งทางรางเรียนเกี่ยวกับอะไร จบไปทำไมถึงมีงานรองรับ” รีวิวสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง : U-Revie

หนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การขนส่งของไทย คือ การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เพื่อการสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม, เศรษฐกิจ, ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง  ดังนั้น วิศวกรรมขนส่งทางราง จึงเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ




ตัวเลือกที่น่าสนใจ ท่ามกลางคณะ/สาขาวิชาที่กำลังเป็นที่นิยม คือ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง  คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพราะที่นี่มีการเรียนการสอนที่เน้นในเรื่องของระบบเครื่องกลเป็นหลัก  จะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง และเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านรถไฟ

ซึ่งในแต่ละปีการศึกษาน้องๆ จะได้เรียนอะไรสนุกๆ และได้ความรู้มากมาย เช่น ชั้นปีที่ 1 - 2 ได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 เทอม 2 จะได้เรียนเกี่ยวกับระบบขนส่งทางราง เบื้องต้น โดยมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้มาสอนโดยตรงเช่นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรถไฟจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญในด้านของระบบการขนส่งทางราง  เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากผู้ที่มีประสบการณ์  อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อบริษัท

ชั้นปีที่ 3 จะมีการเรียนทางด้านวิศวกรรมแบบเจาะลึก  โดยเน้นด้านวิศวกรรมการขนส่งทางรางเป็นหลัก เช่น การวางทางรถไฟ,  ระบบอาณัติสัญญาณ  เป็นต้น ในเทอมที่ 2 จะเรียนเกี่ยวกับการคำนวณการเคลื่อนที่ของรถไฟเรียนรู้แบบเจาะลึกเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนทั้งระบบดีเซลหรือระบบไฟฟ้ารวมถึงระบบรถไฟฟ้า  เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบสั่นสะเทือนของรถไฟ  และการตรวจสอบรอยร้าวภายในรางโดยเครื่องอุลตร้าโซนิค และได้เรียนรู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงทางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างและความสำคัญ  เพื่อมุ่งเน้นการต่อยอดความรู้




การเข้าศึกษาต่อก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะที่นี่เปิดโอกาสรับสมัครในระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบ คือรอบที่ 1 PORTFOLIO โดยการพิจารณาทั้งผลงานและยังมีการสัมภาษณ์ทั้งความรู้ ฟิสิกส์พื้นฐานและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบการขนส่งทางราง TCAS รอบที่ 2 รอบโควตา  และ TCAS รอบที่ 4 ในรอบแอดมิดชัน  สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเรียนที่นี่ คือ ต้องมี PASSION เพราะหากน้องๆ มี PASSION จะทำให้น้องนั้นเรียนแบบมีความสุข




นักศึกษาที่จบจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล  จึงทำให้ผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพเครื่องกลสามารถประกอบอาชีพได้ทั้ง ทางวิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมขนส่งทางรางโดยส่วนมาก 50% ของนักศึกษาจะได้ทำงานเกี่ยวกับระบบการขนส่งทางรางโดยตรง และส่วนที่เหลือของนักศึกษาจะได้ทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล รวมถึงการเรียนต่อในระดับปริญญาโทเพื่อต่อยอดความรู้สู่การพัฒนา  


ยิ่งในอนาคตความต้องการทางด้านวิศวกรเกี่ยวกับเครื่องกลระบบการขนส่งทางรางมีความต้องการสูง  เนื่องจากประเทศไทยต้องการพัฒนาในเรื่องของระบบการขนส่งทางรางรถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ จึงต้องการคนที่สามารถดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง สามารถควบคุม ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ หรือผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง ในบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีอีเอ็ม หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) และบริษัทรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์) ฯลฯ วิศวกรรมระบบราง จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



 






 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

M.Econ. (Business Economics) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจในระดับมหาบัณฑิต ...

M.Eng. (Electrical and Information Engineering) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ ...

M.A. (Linguistics) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รายวิชาในหลักสูตรภาษาศาสตร์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตวิเคราะห์ภาษาได้อย่างหลากหลาย ...