Master Degree

นักบริหารความเสี่ยง อาชีพแห่งอนาคต โดย ศรายุทธ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์

     ทำไมทุกองค์กรต้องมีหน้าที่ นักบริหารความเสี่ยง (Risk management) งานด้านบริหารความเสี่ยง เรามีหน้าที่จัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident)



     แต่เดี๋ยวก่อน! ทราบหรือไม่ว่าถ้านักบริหารความเสี่ยงมีความรู้ทางด้านไอที สามารถพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาได้เองประกอบกับองค์ความรู้วิชาชีพที่ตนเองมี อาจจะทำให้อาชีพ นักบริหาความเสี่ยง ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหมือน พี่ศรายุทธ สุธีโร นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตทำอาชีพนักบริหารความเสี่ยง ใช้แต่โปรแกรม Microsoft excel จนเกิดไอเดียอยากมีความรู้ทางด้านไอที เพื่อเราจะได้เขียนโปรแกรมขึ้นมารองรับงานที่เราทำในรูปแบบที่ง่ายกว่าเดิม  



 
ทำไมถึงเลือกเรียน ป.โท ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     ก่อนหน้านี้ ผมทำงานด้านบริหารความเสี่ยง โปรแกรมที่ใช้ทำงานส่วนใหญ่คือ Microsoft excel ซึ่งโดยทั่วไปก็สามารถใช้คำนวณข้อมูลต่างๆได้ดี แต่ก็พบว่างานบางอย่างยังมีความยุ่งยากอยู่ จึงไปปรึกษาเพื่อนแผนกไอที เค้าก็พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาให้ใช้ ซึ่งมันดีมาก จากที่ต้องทำงานเป็นวันก็สามารถทำงานเสร็จได้เพียงไม่กี่นาทีก็เลยประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจใจให้อยากเรียนการเขียนโปรแกรม



 
ทำไมต้องเลือกเรียน ป.โท ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     ความจริงสนใจสมัครที่อื่น แต่ที่อื่นนั้น ส่วนใหญ่จะต้องเรียนปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มาก่อน จึงจะมีสิทธิเรียนปริญญาโทด้านวิทยากรคอมพิวเตอร์ได้ แต่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ได้บังคับ แต่มีให้สอบวิชาพื้นฐาน และหลังสอบแล้วก็มีการสอนปรับพื้นฐานอีกด้วย

     โดยภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านการเขียนโปรแกรมหรือสายงานที่เกี่ยวข้องกับไอที สามารถนําความรู้ความชํานาญงานไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ออกแบบและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงศึกษาค้นคว้าวิจัยองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ ยังมุ่งส่งเสริมพัฒนาทักษะในการส่ังสม เสาะแสวงหา และพัฒนา ยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่นการอบรมเทคโนโลยีใหม่นอกเหนือจากรายวิชา การศึกษาดูงานบริษัททางด้านไอที เพื่อสร้างเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของผู้เรียนให้พร้อมที่จะออกไปปฏิบัติงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพได้ทันที หลักสูตรปริญญาโทได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ และสอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งทางโครงการได้เตรียมพร้อมในเรื่องของรายวิชาที่หลากหลายเพื่อให้นิสิตทุกคนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองต้องการนำไปใช้กับจุดประสงค์ของตัวเอง


 
 สามารถนำความรู้ไปต่อยอดในสายอาชีพอะไรได้บ้าง

    - โปรแกรมเมอร์ (Programmer/Developer)
    - วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
    - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst)
    - นักทดสอบและรับรองคุณภาพซอฟต์แวร์ (Tester)
    - ผู้จัดการโปรเจค (Project Manager)
    - ผู้พัฒนาและดูแลเว็บไซต์ (Web Developer/Web Master)
    - ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (System Administrator)
    - ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Administrator)
    - ผู้ประกอบการธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ (IT Entrepreneur)
    - นักวิชาการทางคอมพิวเตอร์ ครู อาจารย์ (Teacher/Lecturer)




ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

     - ​M.S. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

สถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ...

วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ สาขาวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

​สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ...

นิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากพูดถึงอาชีพนักประชาสัมพันธ์ หรือ พีอาร์ น้องๆ อาจจะคิดว่าเป็นอาชีพเบื้องหน้าที่คอยต้อนรับและให้ข้อมูลลูกค้าอยู่เคาท์เตอร์ ...