หน้าแรก เรียนโลจิสติกส์ ข่าว/บทความ

ธุรกิจโลจิสติกส์ อนาคตสดใสรับยุคดิจิทัล

วันที่เวลาโพส 04 เมษายน 61 17:07 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
แม้ว่าหลายๆ ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจที่เป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยทั้งในประเทศไทยและจากโลก แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่สำหรับส่วนงานโลจิสติกส์ เพราะสถานการณ์โลจิสติกส์ของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว และจากการลงทุนภาครัฐ

โดยรูปแบบการให้บริการโลจิสติกส์แบบ Third Party Logistics Provider หรือ 3PL คือการให้บริการอย่างเป็นระบบและครบวงจร จะเป็นที่น่าจับตามอง ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์เอสเอ็มอีทั้งระบบ เช่น ธุรกิจขนส่งสินค้าทางบก ธุรกิจ Freight Forwarder ธุรกิจคลังสินค้า และธุรกิจไปรษณียภัณฑ์และรับส่งสินค้าเติบโตได้เป็นอย่างดี โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนภาคโลจิสติกส์ประกอบด้วย


1. การขยายตัวของ e-Commerce
แม้ว่า e-Commerce จะเข้ามาเปลี่ยนวงการค้าปลีกแบบเดิม ให้ก้าวไปสู่การซื้อขายและชำระเงินผ่านออนไลน์ แต่การส่งมอบสินค้าจากผู้ขายให้ถึงมือผู้ซื้อยังคงต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้า ดังนั้น ยิ่งการซื้อขายเกิดขึ้นง่ายดายบนโลกออนไลน์มากเท่าไร ก็จะยิ่งเกิดความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้ามากขึ้นเท่านั้น จึงกลายเป็นโอกาสทองของธุรกิจโลจิสติกส์ของเอสเอ็มอี โดยธุรกิจ e-Commerce ของไทยมีความแข็งแกร่งจากขนาดตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน


2. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่รัฐพยายามส่งเสริม คือปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้ธุรกิจโลจิสติกส์เอสเอ็มอี เติบโตผ่านนโยบายสำคัญ 2 ด้านของภาครัฐ ได้แก่  โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Hard Infrastructure) และ โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ (Soft Infrastructure) ที่ให้สิทธิประโยชน์เหนือกว่าพื้นที่อื่นๆ

โดย EEC เป็นโครงการที่รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม เป็นการอำนวยความสะดวกให้กิจกรรมโลจิสติกส์เกิดความคล่องตัวขึ้น ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และการให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีที่จะเป็นกลยุทธ์ดึงดูดนักลงทุนผ่าน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก จะเป็นการเพิ่มอุปสงค์ในการขนส่งสินค้าที่ผลิตในพื้นที่ EEC เพื่อกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้เติบโต


ส่วนความท้าทายของผู้ประกอบการในยุคโลจิสติกส์ 4.0 ต้องเผชิญก็คือ การปรับตัวเข้าหาสภาพการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล การลดต้นทุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาตนเองให้มีคุณค่าอยู่เสมอ น่าจะเป็นหนทางที่จะสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเอาไว้ได้ ท่ามกลางกระแสของการแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์


ที่มา :  www.prachachat.net  

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด