หน้าแรก เรียนนวัตกรรม คณะ/สาขา

วิศวกรหุ่นยนต์ลาดกระบัง อาชีพมาแรงตอบโจทย์อุตสาหกรรม

วันที่เวลาโพส 04 เมษายน 66 16:33 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

Digital & AI
คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตร Robotics and AI Engineering ( International Program )

Robotics and AI Engineering คืออะไร ? 
วิศวกรพัฒนาหุ่นยนต์ ( Robotics Engineer ) เป็นอาชีพที่มาแรงมากในตอนนี้ ทำหน้าที่ดูแลระบบหุ่นยนต์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่เน้นการสร้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมโดยเริ่มตั้งแต่ออกแบบโครงสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรม รวมถึงพัฒนาโปรแกรมที่มีอยู่ และแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยต้องทำงานร่วมกับงานวิศวกรรมทั่วไป พร้อมควบคู่กับวิศวกรรมเชิงธุรกิจด้วย



จุดแข็งของหลักสูตร
- เน้นการฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ทฤษฎีที่เข้มข้นพร้อมการฝึกปฏิบัติและทดลองทำจริง
- เรียนกับผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมจะเข้ามาร่วมสอนเพื่ออัพเดทเทรนเทคโนโลยี
- ได้รับโจทย์และเรียนรู้เครื่องมือที่ทันสมัยจากภาคอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- เน้นวิศวกรที่มีพร้อมและมีความสามารถแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับสากล





ทำไมต้อง Robotics and AI ที่ สจล.
หลักสูตรที่เป็นเทรนด์เทคโนโลยีอนาคต และตอบโจทย์อุตสาหกรรม New S-curve ใหม่ ของประเทศ โดยมีจุดแข็งคือการเน้นการฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ทฤษฎีที่เข้มข้นพร้อมการฝึกปฏิบัติและทดลองทำจริงผ่านโจทย์ที่กำหนดจากภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งองค์การชั้นนำด้านหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ตามความร่วมมือกับหลักสูตร ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมจะเข้ามาร่วมสอนเพื่ออัพเดทเทรนเทคโนโลยีและการแก้ปัญหาแนวปกติใหม่ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยผู้เรียนจะได้รับโจทย์และเรียนรู้เครื่องมือที่ทันสมัยจากภาคอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในการแก้ปัญหาและสามารถใช้งานได้จริง นอกจากนี้หลักสูตรหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ สจล. จัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติเพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นวิศวกรที่มีพร้อมและมีความสามารถแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับสากล





จบไปทำงานอะไรได้บ้าง
- Roboticist or Robotic Engineer
- Startup Entrepreneur in High Tech
- AI Engineer
- System Engineer
- AI programmer
- Solution Engineer
- System Integration Engineer
- etc.


KMITL Innovation Expo
งานจัดแสดงนวัตกรรม และผลงานวิจัยกว่า 1,111 ผลงาน จากแต่ละภาคส่วนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ 27-29 เมษายน 2566 นี้
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่นี่


ช่องทางการติดต่อ
เว็บไซต์ : https://shorturl.asia/zmsho

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด