หน้าแรก เรียนดิจิทัลมีเดีย คณะ/สาขา

ต้องโดน 5 สาขาใหม่ยุคดิจิทัล และอาชีพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คน GEN Z

วันที่เวลาโพส 02 เมษายน 61 11:21 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
แนะนำคณะใหม่ 5 สาขาตามล่านักครีเอทีฟ ถูกใจวัยรุ่น GEN Z กับคณะดิจิทัลมีเดีย หลักสูตรสู่อนาคต

คณะดิจิทัลมีเดีย คือ คณะที่เปิดสอนหลักสูตร สร้างสรรค์ พัฒนานักออกแบบ เทคโนโลยีด้านดิจิทัล ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์การ์ตูน เกมออนไลน์ วิดีโอเกม เกมมือถือ และสื่อผสม (Multimedia) ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการผลงานดิจิทัลในรูปแบบเหล่านี้เป็นจำนวนมากจากการบริโภคสื่อด้านดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ เรียกได้ว่ากำลังฮิต ฮอตมากเลยทีเดียว

เพราะในยุคที่เทคโนโลยีด้านดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สายต่างๆ ทำให้รูปแบบของสื่อด้านดิจิทัลมีการพัฒนาและแข่งขันกันมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งในด้านเนื้อหา เทคโนโลยี รูปแบบ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพัฒนาการของสื่อดิจิทัลนี้ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล


สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ (Digital Arts)

ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรมและ ภาพเคลื่อนไหว ด้วยสื่อดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือในโปรแกรมต่างๆ เช่น การวาดรูปแบบ Digital Paint การปั้นโมเดลแบบ 3 มิติ (3D Sculpture) และการวาดภาพประกอบ(Illustration) เป็นต้น และ อาชีพที่ทำได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ อย่างเช่น

Illustrator
นักวาดภาพประกอบ ออกแบบและสร้างสรรค์ภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบเรื่องราวในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นิทาน วรรณกรรม นิตยสาร เป็นต้น โดยไม่จำกัดเทคนิควิธีการในการทำงาน

Digital Painting Artist
ศิลปินผู้ออกแบบสร้างสรรค์งานจิตรกรรมในรูปแบบสมัยใหม่ ด้วยการประยุกต์เทคนิคการวาดภาพประเภทต่างๆ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีอะคริลิค เป็นต้น เข้ากับเครื่องมือและโปรแกรมวาดภาพในคอมพิวเตอร์

Texture Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดภาพและลงสีด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้าง Texture หรือพื้นผิวสำหรับโมเดลสามมิติสำหรับงานด้านเกม ภาพยนตร์ และแอนิเมชัน

Matte Painting Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการวาดภาพทิวทัศน์ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการถ่ายทำเทคนิคพิเศษสำหรับภาพยนตร์ โดยนำภาพวาดทิวทัศน์ซ้อนกับภาพที่ถ่ายทำจริงเพื่อสร้างฉากในจินตนาการตามที่ผู้กำกับต้องการ

3D Artist
ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม 3 มิติด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อขึ้นรูปโมเดลสามมิติแบบเสมือนจริงประเภทต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกอื่นๆต่อไป


สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (Computer Animation)

ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบ 3 มิติและ 2 มิติ เช่น การสร้างเรื่องราว การออกแบบตัวละครและฉาก การเขียนสตอรี่บอร์ด การผลิตแอนิเมชันด้วยการใช้โปรแกรม3 มิติและ 2 มิติ และการตัดต่อ เป็นต้น

อาชีพที่ทำได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน

3D Modeller
นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ เช่น ตัวละคร ฉาก และสิ่งของประกอบฉาก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ทั้งในรูปแบบเหมือนจริงและแบบการ์ตูน เพื่อนำไปใช้การผลิตแอนิเมชันในขั้นตอนต่อไป

3D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสามมิติ มีเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสร้างตัวละครสามมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวาสมจริง

3D SLR Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและ การสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันสามมิติให้ดูมีมิติสมจริง ได้บรรยากาศและอารมณ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น

2D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสองมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสองมิติ มีความชำนาญด้านการเขียนภาพตัวละครสองมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงออกถึงบุคลิกของตัวละครได้อย่างสมจริง

Storyboard Artist
ศิลปินผู้ชำนาญด้านการวาดภาพเล่าเรื่องราว โดยคำนึงถึงลำดับและความต่อเนื่องของการเล่าเรื่องเป็นหลัก เพื่อนำ Storyboard ไปใช้สำหรับการผลิตแอนิเมชันทั้งในรูปแบบสองมิติและสามมิติ


สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design)
แบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ได้แก่

กลุ่มวิชาชีพเลือกอินเทอร์แอคทีฟ
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้ การเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เว็บไซต์ CD สื่อ การเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ เช่น มิวเซียมสยาม เป็นต้น

กลุ่มวิชาชีพเลือกเกม
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ เช่น การออกแบบฉากและตัวละคร การออกแบบด่าน (Level Design) และการออกแบบวิธีการเล่นเกม เป็นต้น และ อาชีพที่ทำได้หลังสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น

Interactive Programmer
โปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมกราฟิกเพื่อใช้ในการพัฒนามัลติมีเดียประเภทต่างๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ CD-ROM Kioskแบบหน้าจอทัชสกรีน และเกมแฟลช เป็นต้น

Web Developer
นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้สร้างระบบสำหรับเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงส่วนประกอบต่างๆของหน้าเว็บเข้าด้วยกัน รวมถึงการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยี่ใหม่ๆ สำหรับการประมวลผลเว็บไซต์และการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์

Web Designer
นักออกแบบเว็บไซต์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบจัดวางข้อมูลต่างๆของเว็บไซต์ ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และน่าสนใจ รวมถึงการออกแบบเว็บไซต์และส่วนประกอบต่างๆของเว็บไซต์

Game Designer
นักออกแบบเกม ผู้ออกแบบวิธีการเล่นเกม(Gameplay) กฎเกณฑ์ในการเล่น รวมถึงระบบและโครงสร้างของเกมโดยคำนึงถึงความสนุกและความน่าสนใจในการเล่นเกม

Concept Artist for game
ศิลปินผู้ออกแบบและสร้างสรรค์งานภาพของเกมจากแนวความคิดในขั้นเบื้องต้น เช่น ตัวละคร ฉาก และไอเท็ม เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของเกมและกำหนดแนวทางเริ่มต้นในการทำงานออกแบบเกมในขั้นตอนต่อไป


สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effects)
สาขานี้น้องจะได้เรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานภาพยนตร์และงานโฆษณา เช่น การสร้างหมอก ควัน ฝุ่น ไฟ ระเบิด การจำลองเหตุการณ์ทางภัยธรรมชาติ และการสร้างภาพตัวละครจำลอง เป็นต้น และอาชีพที่ทำได้หลังเรียนจบ อย่างเช่น

Visual Effects Artist
ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างภาพที่ถ่ายทำจริง(Live Action)และภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์(CGI) เพื่อสร้างภาพที่มีบรรยากาศสมจริง ส่วนใหญ่มักจะเป็นฉากที่ไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถถ่ายทำได้

Visual Effects Compositor
ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง(Live Action)กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์(CGI) เช่น เอฟเฟกต์ ตัวละคร ฉาก เป็นต้น ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทางเพื่อสร้างสรรค์งานภาพที่สวยงามสมจริงน่าเชื่อถือสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์

3D SLR Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและ การสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันสามมิติให้ดูมีมิติสมจริง ได้บรรยากาศและอารมณ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น

3D Modeller
นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ เช่น ตัวละคร ฉาก และสิ่งของประกอบฉากในรูปแบบเหมือนจริง(Realistic) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ เพื่อนำใช้ในการทำงานด้านวิชวลเอฟเฟกต์ต่อไป

Technical Director
ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์โดยเฉพาะ เช่น การเขียนโปรแกรมสร้างพื้นผิวสำหรับวัตถุสามมิติ การเซ็ทอัพระบบการเคลื่อนไหวของตัวละครสามมิติ และการขียนโปรแกรมจำลองเอฟเฟกต์ เป็นต้น


สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก (Graphic Design)
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบโปสเตอร์ การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กรการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เป็นต้น และ อาชีพที่ทำได้หลังเรียนจบ อาทิเช่น

Interactive Designer
นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบข้อมูล (Information Design) การออกแบบหน้าการใช้งานหรือหน้าปฏิบัติการ(Interface Design) หน้าจอทัชกรีน (Touch Screen) การออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สื่อการเรียนการสอน (e-Learning) และสื่อปฏิสัมพันธ์การจัดวางติดตั้ง (Installation Interactive Media)

Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการออกแบบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการสร้างผลงานออกแบบเพื่อการสื่อสารทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ สื่อโฆษณา เป็นต้น

Motion Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้นำเสนองานออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว?โดยนำหลักการของแอนิเมชันและทฤษฎีภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้กับหลักการออกแบบกราฟิกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น มิวสิควีดีโอ ไตเติ้ลรายการทีวี เป็นต้น

Photographer
ช่างภาพ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วยกล้อง โดยนำทฤษฎีของแสงมาประยุกต์ใช้กับการจัดวางองค์ประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของตนผ่านทางภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม

Creative
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ๆที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่ในการคิดงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา (Advertising Design) งานออกแบกราฟิก (Graphic Design)

Art Director
ผู้กำกับศิลป์ เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกำกับสไตล์งานและการพัฒนาแนวความคิด เพือวางทิศทางในการทำงานออกแบบที่ชัดเจน ตลอดจนควบคุมคุณภาพการงานผลิตตลอดขั้นตอนให้เสร็จสมบูรณ์

Creative Director
ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสร้างสรรค์ ควบคุมดูแลทีมงานให้แนวทางในการทำงานและเสนอแนะแนวความคิดในการออกแบบตลอดจนควบคุมให้งานออกมาตอบโจทย์ตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ในงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา(Advertising Design) งานออกแบบกราฟิก (Graphic Design)





ข้อมูลจาก : teen.mthai.com 

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด