หน้าแรก เรียนสถาปัตย์ อาชีพในอนาคต

เรื่องน่ารู้ การเปิดเสรีการค้า ASEAN กับวิชาชีพสถาปัตยกรรม

วันที่เวลาโพส 30 มีนาคม 61 17:57 น.
อ่านแล้ว 0
P' แพว AdmissionPremium
การเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม

การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ดำเนินการไปในกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS)  ทั้งนี้ภายใต้ปฏิญญาแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint)  ได้มีการกำหนดให้การเปิดตลาดการค้าบริการให้บรรลุเป้าหมายเป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) 

นอกจากนั้นแล้วสมาชิกอาเซียน ยังได้อาศัยอำนาจตามกรอบความตกลงของ AFAS ในการจัดเตรียมการยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม  ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้


ปัจจุบันประเทศไทยมีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม วิชาชีพผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรม ภายใต้กรอบ AFAS ดังนี้

Mode 1 การให้บริการแบบข้ามพรมแดน-ไม่มีข้อจำกัด (None)
ไทยผูกพันการให้บริการข้ามแดนแบบไม่มีข้อกีดกัน แต่ก็มีการสงวนกรณีที่มีการให้บริการข้ามพรมแดนมายังไทย บริการนั้นต้องได้รับการรับรองจากสถาปนิกซึ่งได้รับ

Mode 2 การใช้บริการในต่างประเทศ-ไม่มีข้อจำกัด (None)
อนุญาตให้คนไทยไปใช้บริการสถาปัตยกรรมในต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด

Mode 3 การจัดตั้งกิจการในต่างประเทศ-อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจได้ไม่เกิน 49 %
ไทยอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาตั้งธุรกิจในไทย โดยยังคงเงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 49% จำนวนผู้ถือหุ้นไม่เกินกึ่งหนึ่งไว้ตามเดิม แต่เพิ่มประเภทนิติบุคคลให้เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งในรูปห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน นอกเหนือจากบริษัทจำกัดโดยมีเงื่อนไขว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น หุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีสัญชาติไทยและผู้จัดการต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาสถาปนิก/สภาวิศวกร

Mode 4 การเดินทางเข้าประเทศของบุคลากรผู้ให้บริการ-ไม่มีข้อผูกพัน (Unbound)
ไทยยังไม่ผูกพันให้บุคลากรอาเซียนเข้ามาทำงานในสาขานี้ อย่างไรก็ตามตามกรอบ AFAS ได้มีการเจรจาการเพื่อลดข้อจำกัด ด้านการค้าบริการระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเป็นรอบๆ ภายใต้หลักการ "การเปิดเสรีก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับ" โดยภายใต้กรอบการเจรจาชุดดังกล่าว มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการให้บริการจัดตั้งธุรกิจ (Mode 3) สำหรับการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม บริการผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรมจากเดิม เป็นกรอบที่องค์กรวิชาชีพ คือ สภาสถาปนิก ต้องดำเนินการเจรจาเพื่อกำหนดเงื่อนไขแนวทางการจัดทำตารางข้อผูกพันให้เกิดความเท่าเทียมกับวิชาชีพในประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้ามาทำงานของสถาปนิกในกลุ่มอาเซียนตามแผนงานสู่การเป็นประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้

ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านการค้าบริการของอาเซียน (CCS) ครั้งที่ 63 และเป็นการประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียนครั้งที่ 6 ณ กรุงมากาตี ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยรับมอบตำแหน่งเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN ARCHITECT COUNCIL: AAC) ต่อจากประเทศมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม 2554 โดยมีวาระดำเนินการ 2 ปี  เพื่อดำเนินการโครงการสถาปนิกอาเซียน จึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่สภาสถาปนิกในฐานะองค์กรวิชาชีพจะดำเนินการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดเสรีและการเจรจาร่วมกับกลุ่มประเทศอื่นอย่างมีศักยภาพและเท่าเทียมกันในกลุ่มประเทศสมาชิกต่อไป



ที่มา :  act.or.th

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด